🔻แผนกวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ

หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) รับผู้จบ ม.3 หรือเทียบเท่า

การเรียนการสอน

  • การเรียนการสอนในแผนกเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นการปูพื้นฐานที่มั่นคงในด้านทักษะที่จำเป็นสำหรับอาชีพในด้านเทคโนโลยีซึ่งเติบโตตลอดเวลาในปัจจุบัน โดยจะมุ่งเน้นไปที่การฝึกภาคปฏิบัติ ลงมือทำจริง การเตรียมนักเรียนให้พร้อมสำหรับงานในสาขาต่างๆ เช่น การพัฒนาซอฟต์แวร์ งานด้านฮาร์ดแวร์ และการดูแลระบบเครือข่าย ด้วยหลักสูตรที่ครอบคลุมหัวข้อต่าง ๆ นักเรียนจะได้รับความรู้และทักษะที่หลากหลาย นอกจากนี้นักเรียนทุกคนจะได้รับโอกาสในการฝึกงานในสถานประกอบการ เพื่อเสริมสร้างประสบการณ์จริงและสร้างเครือข่ายทางวิชาชีพ

แนวทางการประกอบอาชีพ

  • นักพัฒนาซอฟต์แวร์ - ออกแบบ สร้าง และบำรุงรักษาเว็บไซต์/โปรแกรม/แอพพลิเคชัน
  • นักพัฒนาเว็บไซต์ - สร้างและดูแลเว็บไซต์และเว็บแอปพลิเคชัน
  • ผู้ดูแลระบบเครือข่าย - จัดการและบำรุงรักษาเครือข่ายคอมพิวเตอร์และระบบสื่อสาร
  • ผู้ดูแลระบบฐานข้อมูล - จัดการและบำรุงรักษาฐานข้อมูลและระบบจัดการข้อมูล
  • นักวิเคราะห์ระบบคอมพิวเตอร์ - วิเคราะห์และออกแบบระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพและประสิทธิผล
  • ผู้เชี่ยวชาญด้านการสนับสนุนด้านเทคนิค - ให้ความช่วยเหลือด้านเทคนิคและการสนับสนุนแก่ผู้ใช้ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์
  • IT Project Manager - ดูแลการวางแผน การพัฒนา และการดำเนินโครงการด้านไอที
  • ที่ปรึกษาด้านไอที – ให้คำแนะนำแก่ธุรกิจและองค์กรเกี่ยวกับปัญหาและวิธีแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี

รายได้ (เริ่มต้น)

  • นักพัฒนาซอฟต์แวร์ - 20,000 ถึง 100,000 บาทต่อเดือน
  • นักพัฒนาเว็บไซต์ - 25,000 ถึง 80,000 บาทต่อเดือน
  • ผู้ดูแลระบบเครือข่าย - 20,000 ถึง 80,000 บาทต่อเดือน
  • ผู้ดูแลระบบฐานข้อมูล - 25,000 ถึง 80,000 บาทต่อเดือน
  • นักวิเคราะห์ระบบคอมพิวเตอร์ - 25,000 ถึง 90,000 บาทต่อเดือน
  • ผู้เชี่ยวชาญด้านการสนับสนุนด้านเทคนิค - 20,000 ถึง 50,000 บาทต่อเดือน
  • IT Project Manager - 40,000 ถึง 120,000 บาทต่อเดือน
  • ที่ปรึกษาด้านไอที - 30,000 ถึง 100,000 บาทต่อเดือน

 

หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวส.) ระบบปกติ และระบบทวิภาคี รับผู้จบ ปวช. หรือ ม.6 หรือเทียบเท่า

การเรียนการสอน

  • IoT หรือ Internet of Things คือ การเชื่อมต่อกันของอุปกรณ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้า อุปกรณ์สื่อสาร ยานพาหนะ หรืออุปกรณ์อื่นๆ ที่ฝังด้วยเซนเซอร์, โปรแกรมคอมพิวเตอร์, เครือข่ายอินเทอร์เน็ต เพื่อให้สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลและสามารถสร้างเป็นระบบอัตโนมัติได้ การเรียนการสอนในแผนกวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ สาขางานนักพัฒนาระบบสมองกลฝังตัวและ IoT ในระดับ ปวส. มุ่งเน้นให้นักเรียนมีความรู้และทักษะที่จำเป็นในการออกแบบ พัฒนา และใช้งานระบบสมองกลฝังตัวและ IoT หลักสูตรออกแบบให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างครอบคลุมในหัวข้อต่างๆ เช่น การเขียนโปรแกรม, ไมโครคอนโทรลเลอร์, การออกแบบฮาร์ดแวร์, ระบบเครือข่ายไร้สาย, ระบบคลาวด์ IoT รวมถึงการวิเคราะห์ข้อมูลด้าน IoT ผู้เรียนจะได้รับประสบการณ์ในการพัฒนาระบบ IoT ในการแก้ไขปัญหาจริงผ่านการทำโปรเจค การฝึกปฏิบัติจริง และเตรียมพร้อมสำหรับอาชีพในอุตสาหกรรมต่างๆ

แนวทางการประกอบอาชีพ

  • นักพัฒนา IoT: พัฒนาซอฟต์แวร์และแอปพลิเคชันสำหรับอุปกรณ์ Internet of Things
  • นักวิเคราะห์ IoT: วิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกจากระบบ IoT เพื่อนำไปพัฒนาอุตสาหกรรมต่างๆ
  • วิศวกรฮาร์ดแวร์: ออกแบบ พัฒนา และทดสอบฮาร์ดแวร์และระบบสำหรับอุปกรณ์สมองกลฝังตัวและ IoT
  • วิศวกรซอฟต์แวร์: ออกแบบ พัฒนา และทดสอบซอฟต์แวร์ของอุปกรณ์และระบบ IoT
  • วิศวกรระบบควบคุม: ออกแบบและบำรุงรักษาระบบควบคุมที่ใช้ในอุปกรณ์ฝังตัวและระบบ IoT
  • วิศวกรหุ่นยนต์: ออกแบบ พัฒนา และบำรุงรักษาซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ของระบบหุ่นยนต์ที่ใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ
  • Product Manager: รับผิดชอบ/ดูแลการพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือบริการด้าน IoT ตั้งแต่ต้นจนจบ

รายได้ (เริ่มต้น)

  • นักพัฒนา IoT - 30,000 ถึง 80,000 บาทต่อเดือน
  • นักวิเคราะห์ IoT - 25,000 ถึง 60,000 บาทต่อเดือน
  • วิศวกรฮาร์ดแวร์ - 30,000 ถึง 90,000 บาทต่อเดือน
  • วิศวกรซอฟต์แวร์ - 35,000 ถึง 90,000 บาทต่อเดือน
  • วิศวกรระบบควบคุม - 35,000 ถึง 80,000 บาทต่อเดือน
  • วิศวกรหุ่นยนต์ - 35,000 ถึง 90,000 บาทต่อเดือน
  • Product Manager - 40,000 ถึง 100,000 บาทต่อเดือน

การศึกษาต่อ

  • สามารถศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีได้

การเรียนการสอน

  • การจัดทำแผนการจัดการเรียนการสอน ตารางเรียน ตารางสอน บัญชีวิชาเลือก จัดตารางสอนรวมและตารางส่วนบุคคลของแผนกวิชา
  • ควบคุมดูแล ส่งเสริม กำกับ ติดตามการจัดการเรียนการสอน แก้ปัญหาเกี่ยวกับการเรียนการสอน การฝึกงาน การวัดผลประเมินผล และการวิจัยในแผนกวิชาให้เป็นไปตามหลักสูตรและระเบียบแบบแผนของทางราชการ
  • วางแผนและดำเนินงานด้านมาตรฐานและการประกันคุณภาพการศึกษาของแผนกวิชา เพื่อนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาอย่างต่อเนื่องและรองรับการประเมินคุณภาพภายนอกได้
  • จัดหาดูแลรักษาวัสดุ ครุภัณฑ์ อุปกรณ์ เครื่องจักร เครื่องมือของแผนกวิชาให้ใช้งานได้เป็นปกติ และมีเพียงพอต่อการจัดการเรียนการสอน
  • สนับสนุนการพัฒนาการเรียนการสอน นวัตกรรม เทคโนโลยี และสิ่งประดิษฐ์ การใช้อุปกรณ์การเรียนการสอน การเขียนตำรา เอกสาร และใบช่วยสอนต่าง ๆ
  • ติดตามและแนะนำเกี่ยวกับการทำโครงการฝึก โครงการสอน แผนการเรียนรู้ คู่มือครู ใบงาน ตลอดจนแฟ้มสะสมงาน โดยบูรณาการปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงให้สอดคล้องกับหลักสูตรและแผนการจัดการเรียนการสอน
  • ควบคุมการใช้วัสดุการศึกษา และลงทะเบียนผลิตผลของแผนกวิชาให้เป็นไปตามใบงาน
  • ควบคุมดูแลและพัฒนาสำนักงาน ห้องเรียน ห้องปฏิบัติการ ให้สะอาดเรียบร้อยทันสมัยอยู่เสมอ
  • ปกครองดูแลบุคลากรในแผนกวิชาให้ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบแบบแผนของทางราชการ และเสนอความดีความชอบของบุคลากรในแผนกวิชา
  • ประสานงานและให้ความร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา
  • จัดทำปฏิทินการปฏิบัติงาน เสนอโครงการและรายงานการปฏิบัติงานตามลำดับขั้น
  • ดูแล บำรุงรักษา และรับผิดชอบทรัพย์สินของสถานศึกษาที่ได้รับมอบหมาย
  • ปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย