🔻 แผนกวิชาการจัดการ และ แผนกวิชาการจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเซน

หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) รับผู้จบ ปวช. หรือ ม.6 หรือเทียบเท่า

การเรียนการสอน

  • สาขาวิชาโลจิสติกส์ นั้น เกี่ยวข้องกับการจัดการระบบขนส่ง หรือการเคลื่อนย้ายสินค้าและบริการ ทั้งภาคพื้นดิน ทางเรือ และทางอากาศ แต่โลจิสติกส์ไม่ใช่แค่เรื่องของการขนส่งเท่านั้น สายงานด้านนี้ยังรวมไปถึงกระบวนการ วิธีการ การวางแผนสินค้าคงคลัง การจัดเก็บ ควบคุม การบริหารธุรกิจ รวมถึงต้องเข้าใจเกี่ยวกับการเงิน การตลาดเบื้องต้นในการทำธุรกิจอีกด้วย

แนวทางการประกอบอาชีพ

  • ระดับปฏิบัติการ เช่น ฝ่ายจัดซื้อ ฝ่ายผลิต ฝ่ายจัดส่งและคลังสินค้า ฝ่ายควบคุมวัตถุดิบ ฝ่ายซัพพลายเชนและโลจิสติกส์ ฝ่ายการขนส่ง ซึ่งในประเทศไทยมีบริษัททางขนส่งสินค้ามากกว่า 500 แห่ง รวมถึงบริษัทนำเข้าส่ง-ออก

  • ระดับบริหาร เช่น นักวิเคราะห์ด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน,  นักวางแผน วัตถุดิบ การผลิต หรือการกระจายสินค้า, นักวิเคราะห์กระบวนการทางธุรกิจ

  • ประกอบธุรกิจส่วนตัว เช่น นำเข้าและส่งออก ผู้ให้บริการทางด้านโลจิสติกส์ ตัวแทนขนส่งทางบก ทางทะเล หรือทางอากาศ

  • รับราชการ  รับราชการในหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชย์นาวี กรมประมง กรมการขนส่งทางอากาศ กรมศุลกากร และหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

  • งานสายวิชาการ เช่น นักวิชาการ นักวิจัย อาจารย์ในสาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์ หรือเรียนต่อระดับสูงขึ้น

รายได้ (เริ่มต้น)

  • ภาครัฐ 12,000 – 18,000 บาท
  • ภาคเอกชน 15,000 – 30,000 บาท
  • อาชีพอิสระ ขึ้นอยู่กับความสามารถและประสบการณ์

การศึกษาต่อ

  • สามารถศึกษาต่อในระดับ ปวส. และปริญญาตรีได้

หน้าที่และความรับผิดชอบ

  1. การจัดทำแผนการจัดการเรียนการสอน ตารางเรียน ตารางสอน บัญชีวิชาเลือก จัดตารางสอนรวมและตารางส่วนบุคคลของแผนกวิชา
  2. ควบคุมดูแล ส่งเสริม กำกับ ติดตามการจัดการเรียนการสอน แก้ปัญหาเกี่ยวกับการเรียนการสอน การฝึกงาน การวัดผลประเมินผล และการวิจัยในแผนกวิชาให้เป็นไปตามหลักสูตรและระเบียบแบบแผนของทางราชการ
  3. วางแผนและดำเนินงานด้านมาตรฐานและการประกันคุณภาพการศึกษาของแผนกวิชา เพื่อนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาอย่างต่อเนื่องและรองรับการประเมินคุณภาพภายนอกได้
  4. จัดหาดูแลรักษาวัสดุ ครุภัณฑ์ อุปกรณ์ เครื่องจักร เครื่องมือของแผนกวิชาให้ใช้งานได้เป็นปกติ และมีเพียงพอต่อการจัดการเรียนการสอน
  5. สนับสนุนการพัฒนาการเรียนการสอน นวัตกรรม เทคโนโลยี และสิ่งประดิษฐ์ การใช้อุปกรณ์การเรียนการสอน การเขียนตำรา เอกสาร และใบช่วยสอนต่าง ๆ
  6. ติดตามและแนะนำเกี่ยวกับการทำโครงการฝึก โครงการสอน แผนการเรียนรู้ คู่มือครู ใบงาน ตลอดจนแฟ้มสะสมงาน โดยบูรณาการปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงให้สอดคล้องกับหลักสูตรและแผนการจัดการเรียนการสอน
  7. ควบคุมการใช้วัสดุการศึกษา และลงทะเบียนผลิตผลของแผนกวิชาให้เป็นไปตามใบงาน
  8. ควบคุมดูแลและพัฒนาสำนักงาน ห้องเรียน ห้องปฏิบัติการ ให้สะอาดเรียบร้อยทันสมัยอยู่เสมอ
  9. ปกครองดูแลบุคลากรในแผนกวิชาให้ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบแบบแผนของทางราชการ และเสนอความดีความชอบของบุคลากรในแผนกวิชา
  10. ประสานงานและให้ความร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา
  11. จัดทำปฏิทินการปฏิบัติงาน เสนอโครงการและรายงานการปฏิบัติงานตามลำดับขั้น
  12. ดูแล บำรุงรักษา และรับผิดชอบทรัพย์สินของสถานศึกษาที่ได้รับมอบหมาย
  13. ปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย